top of page

Spinach

                                                                  ผักโขม  (Spinach)

 

ผักโขม หรือ ผักขม ชื่อสามัญ Amaranth

ผักโขม ชื่อวิทยาศาสตร์ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Amaranthus lividus L.) จัดอยู่ในวงศ์บานไม่รู้โรย (AMARANTHACEAE)

ผักโขม มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักโหม ผักหม (ภาคใต้), ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ (แม่ฮ่องสอน) เป็นต้น

ผักโขมเป็นผักที่ขึ้นได้ทั่วไปตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง ส่วนผักผลไม้ของชาวไร่ชาวนา เป็นต้น ในบ้านเราผักโขมนั้นมีอยู่หลากหลายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารได้แก่ ผักโขม ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม เป็นต้น

ผักโขม ไม่ได้มีรสชาติขมเหมือนที่หลาย ๆคนเข้าใจ แต่กลับมีรสชาติออกหวานหน่อย ๆด้วยซ้ำ กินง่ายแน่นอนแถมยังมีโปรตีนสูง กรดอะมิโน วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินบี9 วิตามินเค ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุทองแดง ธาตุแมงกานีส ธาตุสังกะสี เป็นต้น

แต่ผักโขมมีปริมาณของสารออกซาเลตค่อนข้างสูง (Oxalate) ผู้ที่มีเป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณของแคลเซียมควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิดนี้ในปริมาณมาก ๆ มีคำแนะนำว่าการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด การคั่ว จะช่วยลดปริมาณสารออกซาเลตได้ดีที่สุด แต่การนำไปนึ่งหรือต้มจะช่วยลดลงได้บ้างระดับหนึ่ง !

ทำความเข้าใจกันก่อน ผักโขม กับ ปวยเล้ง มันคือผักคนละชนิดกัน ต้องแยกให้ออก ถ้าใครเคยดูการ์ตูนเรื่องป๊อปอายที่เห็นว่ากินผักแล้วช่วยเพิ่มพลัง ผักที่ป๊อปอายกินจริง ๆแล้วมันก็คือ ปวยเล้ง หรือ Spinach (ออกเสียงว่า “สปีแนช”) แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามผักสองชนิดนี้ก็คือสปีชีส์เดียวกัน คุณสมบัติทางด้านโภชนาการจะคล้าย ๆกัน (แต่ผักโขมจะมีธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินซี สูงกว่าปวยเล้งหลายเท่า) และต่างกันแต่เพียงลักษณะภายนอกและรสชาติเล็กน้อย และยังรวมถึงเรื่องราคาซึ่งผักปวยเล้งจะมีราคาแพงกว่าประมาณเท่าตัว

bottom of page